ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ - 2019 ได้ส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ทำให้การดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก โดยเฉพาะด้านอาชีพการงาน ที่ใครหลายคนได้ผันตัวมาเป็นพ่อค้าแม่ขาย ทำให้เราได้เห็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ใหม่ๆ ในท้องตลาดช่วงวิกฤตินี้ และการแพร่ระบาดในครั้งนี้ ก็ยังก่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ที่เรียกกันติดปากว่า “New Normal” ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้ผู้ประกอบการใหม่ต้องสร้างแบรนด์ของตัวเองให้มีเอกลักษณ์ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลง สร้างจุดขายให้สอดคล้องกับพฤติกรรมใหม่นี้
ด้วยเหตุนี้ ทางหน่วยงานและภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการดูแลและผลักดันภาคธุรกิจให้สามารถเติบโตและสร้างรายได้ในสถานการณ์นี้ จึงได้นำเสนอคำแนะนำและจัดฝึกอบรมทักษะให้กับผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความพร้อมให้กับการดำเนินธุรกิจ “กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม” (DIProm) ก็หนึ่งหน่วยงาน ที่มีได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ และได้มีการเผย 4 เทคนิคการออกแบบ สร้างเอกลักษณ์แบรนด์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำเทคนิคนี้ ไปพัฒนาแบรนด์ของตัวเอง เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในยุค New Normal
หนึ่งในสิ่งที่จะทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จก็คือการสร้างแบรนด์ การสร้างแบรนด์คืออะไร หลายคนอาจเข้าใจว่าการสร้างแบรนด์คือการตั้งชื่อ การออกแบบโลโก้ หรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสร้างแบรนด์เท่านั้น ผู้ประกอบการต้องจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์ ผู้ประกอบการจะต้องสร้างภาพลักษณ์เพื่อแสดงตัวตนที่โดดเด่นและแตกต่างสู่สายตาลูกค้า แม้จะขายสินค้าชนิดเดียวกัน ประเภทเดียวกัน รูปแบบเดียวกัน แต่ถ้าหากแบรนด์มีเทคนิคการออกแบบ 4 ข้อดังนี้ การสร้าง “เอกลักษณ์” ให้กับแบรนด์เพื่อดึงดูดลูกค้าและเอาชนะคู่แข่งบน Facebook ก็ไม่ใช่เรื่องยาก
1. โลโก้ที่ดีต้องจดจำง่าย : โลโก้นั้นควรมีการออกแบบให้ดูทันสมัยได้ในทุกช่วงเวลา โดยไม่ควรนำเหตุการณ์หรือเทรนด์ในปัจจุบันมาดัดแปลงเป็นโลโก้ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป โลโก้จะดูเก่า ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูล้าสมัย คุณสมบัติของโลโก้ที่ดี คือมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ไม่ยุ่งยาก เมื่อลูกค้าเห็นต้องจดจำได้ง่าย และไม่ใช้ลวดลายซับซ้อนมากเกินไป ตัวอย่างเช่น บริษัท Apple ที่มีโลโก้แบบเรียบง่าย ซึ่งหากใครเห็นก็จะนึกถึง iPhone หรือ Macbook ได้ในทันที เป็นต้น
2. เลือกสีให้เหมาะสม : สี นับเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญของแบรนด์ ไม่ใช้แค่เพียงการเลือกใช้สีในการออกแบบโลโก้เท่านั้น แต่รวมไปถึงการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ทุกชนิดของแบรนด์ เพราะสีนั้นมีส่วนช่วยในการจดจำ ตัวอย่างเช่น โลโก้ของธนาคารที่มีสีแตกต่างกัน ทำให้คนสามารถแยกความแตกต่างของแต่ละแบรนด์ได้ เป็นต้น สีจึงเป็นหนึ่งสิ่งสำคัญในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ ซึ่งโลโก้ที่ดีนั้นควรมีสีที่ใช้ทั้งหมดไม่เกิน 4 สี
3. ตัวอักษรก็สำคัญ : การเลือกฟ้อนต์นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของการออกแบบ เนื่องจาก การเลือกฟ้อนต์ให้เหมาะสมกับบุคลิกของแบรนด์จะส่งเสริมให้แบรนด์มีความน่าสนใจและน่าดึงดูด เช่น ควรเลือกฟอนต์ที่ดูสนุกสนานสำหรับการสื่อสารบุคลิกของแบรนด์ที่เฮฮาและเป็นกันเอง อย่างไรก็ตาม ฟอนต์ที่ใช้ไม่ควรมีลายเส้นที่ซับซ้อนมากจนเกินไป หรือใช้ฟ้อนต์หลายรูปแบบในชิ้นงานเดียวกัน เพราะอาจสร้างความสับสนให้กับลูกค้า ซึ่งในหนึ่งชิ้นงานนั้นควรใช้ฟอนต์ทั้งหมดไม่เกิน 3 รูปแบบ
4. ถ่ายรูปสินค้าให้ Unique : ความแตกต่างและไอเดียสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ดี แต่ในการถ่ายรูปสินค้านั้น แบรนด์ไม่ควรมีสไตล์ที่แตกต่างมากเกินไปจนทำให้สินค้าไม่น่าดึงดูดเท่าที่ควร แบรนด์ต้องมุ่งเน้นไปที่ความโดดเด่นของตัวสินค้า ผู้ประกอบการต้องรู้จักสินค้าของตนเองว่าควรต้องถ่ายภาพสินค้าในมุมใด เทคนิคการถ่ายภาพให้ออกมาสวย ได้แก่ การจัดฉากหลังในการถ่ายภาพให้ดี แล้วค่อยนำสินค้ามาจัดวาง โดยเลือกสีและพื้นผิวของฉากหลัง รวมไปถึงของตกแต่ง อย่างเช่น ใบไม้ ก้อนหิน ฯลฯ ให้มีความเหมาะสม และไม่แย่งความสนใจไปจากตัวสินค้า
ด้วย 4 เทคนิคการออกแบบสร้างเอกลักษณ์แบรนด์นี้ คงจะทำให้ผู้ประกอบการหน้าเก่าและหน้าใหม่ สามารถรับมือกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า และสามารถตอบโจทย์ได้มากขึ้น ในยุคที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ – 2019 ยังไม่สิ้นสุด
ขอบคุณข้อมูลจาก “กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม” (DIProm)สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเรียนได้ Youtube - DIProm Station (สถานีดีพร้อม) โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
** * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ"รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุดและร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
SMEs manager
"ซับซ้อน" - Google News
June 06, 2020 at 08:40AM
https://ift.tt/30d6WR9
4 เทคนิคสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ให้ปัง ตอบโจทย์ลูกค้ายุค New Normal - ผู้จัดการออนไลน์
"ซับซ้อน" - Google News
https://ift.tt/34kq1kf
Home To Blog
No comments:
Post a Comment