เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานชี้แจงแนวทางในการฟื้นฟูกิจการและการปฏิบัติของสหกรณ์เจ้าหนี้บริษัทการบินไทย ร่วมกับ สหกรณ์ 85 แห่งที่ลงทุนหุ้นกู้ในบริษัทการบินไทย และสหกรณ์อีก 1 แห่ง ลงทุนในหุ้นสามัญ วงเงินกว่า 43,000 ล้านบาท
น.ส.มนัญญา กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกสหกรณ์ที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทการบินไทยถึงแนวปฎิบัติหลังการบินไทยเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ โดยย้ำให้สมาชิกสหกรณ์ไม่ตื่นตระหนก และไม่แตกแยกจะได้มีอำนาจต่อรอง เพราะจำนวนเงินลงทุนสูงและขอให้สหกรณ์ทุกแห่งทำความเข้าใจสมาชิกให้เข้าใจ
“นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงและไม่ต้องการให้กระทบสมาชิก ดิฉันพร้อมเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยปัญหา และขอให้สหกรณ์ มั่นใจว่ารัฐมนตรีคนนี้ ช่วยเขาได้ จะดูแลให้เต็มที่ จากที่เห็นกันว่าเราทำงานอะไรต้องมุ่งมั่น ให้ประชาชน สมาชิก เดินในทางที่ถูกต้อง ยืนยันว่า เงินกว่า 40,000 ล้านจะไม่หายไปและมีแผนรองรับผลกระทบเมื่อไปสู่แผนฟื้นฟูของศาลล้มละลาย”น.ส.มนัญญา กล่าว
ส่วนกรณีที่อาจจะมีการลดยอดหนี้หรือแคร์คัดนั้น น.ส.มนัญญา กล่าวว่าเรื่องนี้ต้องดูเหตุผล และแนวทางนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรต้องฟังคำสั่งศาลล้มละลายที่นัดไต่สวนนัดแรก 17 สิงหาคมนี้ ว่าจะมีคำสั่งออกมาอย่างไร ในฐานะที่สหกรณ์เป็นเจ้าหนี้ก็พร้อมตั้งตัวแทนคณะทำงานร่วมดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ
รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้มีหนังสือสั่งการไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีปัญหาสุ่มเสี่ยง 7 แห่ง โดยให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าไปตรวจสอบบัญชี การทำธุรกรรมลงทุนต่างๆหากเกิดอะไรขึ้นจะกระทบรุนแรงกับสมาชิก โดยตั้งทีมจากส่วนกลางไปตรวจสอบบัญชี และรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบทุกเดือน ว่าสหกรณ์ไหนมีสถานะเป็นอย่างไร ถ้าสหกรณ์ใดพบปัญหาควรปิดสหกรณ์นั้น
ด้านนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ได้เตรียมแผนรองรับไว้เป็นรายสหกรณ์ ต้องดูว่าหลังการบินไทยเข้าแผนฟื้นฟูแล้วจะมีแนวทางชำระหนี้อย่างไร ถ้าสามารถชำระหนี้ได้ ก็จะมีการกำหนดระยะเวลาที่กำหนดฃำระหนี้คืน ในรอบบัญชีหน้าแต่ถ้าชำระหนี้ไม่ต้องก็ต้องตั้งเกณฑ์สำรองหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสหกรณ์แต่ละแห่งรู้หลักเกณฑ์อยู่แล้ว
โดยกรมจะมีแผนรองรับเป็นรายสหกรณ์ที่จะเข้าไปช่วยเหลือในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ วันนี้เรียกประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมวางทิศทางทั้งหมดในระหว่างที่ทำแผนฟื้นฟู โดยมีตัวแทนสหกรณ์เข้าไปเจรจากับผู้ทำแผนซึ่งจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมาสหกรณ์ต่างๆ ไม่เคยเจอปัญหานี้
โดยจะมีชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ที่จะเข้ามาดูแลในส่วนการกำหนดทิศทางของสหกรณ์เจ้าหนี้ โดยได้มีเชิญตัวแทนกรมบังคับคดีมาให้ความรู้ด้านกฎหมายล้มละลาย ในฐานะเจ้าหนี้ต้องดำเนินการอย่างไรที่จะเกิดประโยชน์กับสหกรณ์และสมาชิกมากที่สุด
นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า รมช.เกษตรฯสั่งการให้เข้าตรวจสอบสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีปัญหาการบริหารงาน เพื่อยับยั้บผลกระทบไว้ก่อนสามารถเข้าแก้ไขได้ทันเหตุการณ์ จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบสหกรณ์ที่มีข้อบกพร่องหรือเกิดการทุจริต โดยมีนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานคณะทำงานตรวจสอบ การดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์ ที่มีข้อบกพร่องหรือเกิดทุจริตที่เกิดจากการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจสหกรณ์หากพบข้อบกพร่องจะสามารถแก้ไขได้รวดเร็ว
ทั้งนี้สหกรณ์ที่จะเข้าไปตรวจสอบจะสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่มีสินทรัพย์มากกว่า 5,000 ล้านขึ้นไป และบริหารงานสุ่มเสี่ยง ซึ่งรมช.เกษตรฯเป็นห่วง เพราะบางสหกรณ์นำเงินไปลงทุนเกินตัวและมีความซับซ้อนคาดว่ารู้ผลภายใน 1 สัปดาห์.
"ซับซ้อน" - Google News
June 04, 2020 at 12:06PM
https://ift.tt/2A0Oosv
'มนัญญา'สั่งสอบสหกรณ์7แห่ง พบพิรุธ-ทำธุรกรรมซับซ้อน - เดลีนีวส์
"ซับซ้อน" - Google News
https://ift.tt/34kq1kf
Home To Blog
No comments:
Post a Comment